กลุ่มหุ้นดัชนี
Sector Index Futures

Sector Index Futures เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงดัชนีหมวดธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีลักษณะเด่น คือ เป็นสัญญาที่เปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถ ซื้อ หรือ ขาย เพื่อทำกำไรและบริหารความเสี่ยงบนการเคลื่อนไหวของดัชนีหมวดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากอัตราการเติบโตในอนาคตของธุรกิจแต่ละหมวดอาจมีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวหรือต่างไปจากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม Sector Index Futures จึงเป็นเครื่องมือการลงทุนที่จะช่วยให้ผู้ลงทุนจัดกลยุทธ์และปรับพอร์ตลงทุนให้มีผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของดัชนีหมวดธุรกิจตามที่ต้องการ และสามารถปรับพอร์ตลงทุนเพื่อลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้เช่นกัน
ทั้งนี้ Sector Index Futures จะประกอบด้วย 5 หมวดธุรกิจ อันได้แก่ ธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พลังงาน พาณิชย์ และ อาหารและเครื่องดื่ม
สรุปลักษณะสัญญา Sector Index Futures
หัวข้อ |
ลักษณะสัญญา |
||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
สินค้าอ้างอิง | ดัชนีหมวดธุรกิจ ซึ่งคำนวณและเผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้ | ||||||
ธนาคาร | เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร |
พลังงาน | พาณิชย์ | อาหารและเครื่องดื่ม | |||
ชื่อย่อสัญญา | BANK | ICT | ENERG | COMM | FOOD | ||
ตัวคูณดัชนี | 1,000 บาท ต่อ 1 จุดของดัชนี | 10 บาท ต่อ 1 จุดของดัชนี | |||||
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ | เดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม โดยนับไปไม่เกิน 4 ไตรมาส (March, June, September, December up to 4 quarters) | ||||||
ราคาเสนอซื้อขาย | แสดงราคาเสนอซื้อหรือขายเป็นระดับดัชนี | ||||||
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ | 0.1 จุดดัชนี (คิดเป็น 100 บาทต่อสัญญา) |
1 จุดดัชนี (คิดเป็น 10 บาทต่อสัญญา) |
|||||
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดแต่ละวัน | ไม่เกิน ±30% ของราคาสำหรับการส่งมอบหรือใช้อ้างอิง เพื่อคำนวณส่วนต่างของราคาเพื่อใช้ในการชำระหนี้ประจำวันล่าสุด | ||||||
เวลาซื้อขาย |
|
||||||
การจำกัดฐานะ | ห้ามมีฐานะรวมสุทธิในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า Sector Futures ที่อ้างอิงกับดัชนีหมวดธุรกิจใดหมวดธุรกิจหนึ่ง ที่หมดอายุเดือนใดเดือนหนึ่งหรือทุกเดือนรวมกันเกินกว่า 20,000 สัญญา | ||||||
วันซื้อขายวันสุดท้าย | วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ชำระราคาหรือส่งมอบของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยสัญญาที่ครบอายุจะสิ้นสุดการซื้อขายในเวลา 16:30 น. | ||||||
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย | ค่าเฉลี่ยของดัชนีหมวดธุรกิจอ้างอิงในวันสุดท้ายของการซื้อขาย โดยคำนวณจากค่าดัชนีหมวดธุรกิจอ้างอิงในช่วง 15 นาทีสุดท้าย และค่าดัชนีราคาปิดของวันนั้น หลังจากตัดค่าที่มากที่สุด 3 ค่า และค่าที่น้อยที่สุด 3 ค่าออกแล้ว และใช้ค่าทศนิยม 2 ตำแหน่ง | ||||||
วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา | ชำระราคาเป็นเงินสด (Cash Settlement) |
อัตราค่านายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า Sector Index Futures
หมวดธนาคาร (BANK Index Futures)
ปริมาณการซื้อขายต่อวันต่อบัญชี |
อัตราค่านายหน้า (บาทต่อสัญญา) |
|
---|---|---|
ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด |
ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต |
|
สัญญาที่ 1- 10 | 200.00 | 182.00 |
สัญญาที่ 11 - 40 | 160.00 | 146.00 |
สัญญาที่ 41 - 200 | 120.00 | 110.00 |
ตั้งแต่สัญญาที่ 201 เป็นต้นไป | 100.00 | 92.00 |
หมวดพลังงาน (ENERG Index Futures)
ปริมาณการซื้อขายต่อวันต่อบัญชี |
อัตราค่านายหน้า (บาทต่อสัญญา) |
|
---|---|---|
ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด |
ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต |
|
สัญญาที่ 1- 25 | 100.00 | 91.00 |
สัญญาที่ 26 - 100 | 80.00 | 73.00 |
สัญญาที่ 101 - 500 | 60.00 | 55.00 |
ตั้งแต่สัญญาที่ 501 เป็นต้นไป | 50.00 | 46.00 |
หมวดพาณิชย์ (COMM Index Futures)
ปริมาณการซื้อขายต่อวันต่อบัญชี |
อัตราค่านายหน้า (บาทต่อสัญญา) |
|
---|---|---|
ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด |
ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต |
|
สัญญาที่ 1- 25 | 100.00 | 91.00 |
สัญญาที่ 26 - 100 | 80.00 | 73.00 |
สัญญาที่ 101 - 500 | 60.00 | 55.00 |
ตั้งแต่สัญญาที่ 501 เป็นต้นไป | 50.00 | 46.00 |
หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Index Futures)
ปริมาณการซื้อขายต่อวันต่อบัญชี |
อัตราค่านายหน้า (บาทต่อสัญญา) |
|
---|---|---|
ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด |
ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต |
|
สัญญาที่ 1- 50 | 50.00 | 45.50 |
สัญญาที่ 51 - 200 | 40.00 | 36.50 |
สัญญาที่ 201 - 1,000 | 30.00 | 27.50 |
ตั้งแต่สัญญาที่ 1,001 เป็นต้นไป | 25.00 | 23.00 |
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม (FOOD Index Futures)
ปริมาณการซื้อขายต่อวันต่อบัญชี |
อัตราค่านายหน้า (บาทต่อสัญญา) |
|
---|---|---|
ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด |
ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต |
|
สัญญาที่ 1- 50 | 50.00 | 45.50 |
สัญญาที่ 51 - 200 | 40.00 | 36.50 |
สัญญาที่ 201 - 1,000 | 30.00 | 27.50 |
ตั้งแต่สัญญาที่ 1,001 เป็นต้นไป | 25.00 | 23.00 |
ความรู้ก่อนการลงทุน
ข้อดีของสัญญา FUTURES
- ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีอำนาจในการกำหนดราคาเองได้
- ไม่มีการส่งมอบทองคำจริง ใช้วิธีตัดส่วนต่างซื้อขาย
- ลงทุนน้อยกว่าแต่ทำกำไรได้มากกว่า
- ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง (ขายก่อนซื้อได้)
- สามารถซื้อขายได้ด้วยตนเอง โดยเทรดผ่านทางอินเตอร์เน็ต
- มี Marketing ดูแล ให้ข้อมูล ข่าวสาร ประกอบการตัดสินใจ และติดตามสถานการณ์ลงทุน
การวางเงินค้ำประกัน (Margin)
โดยผู้ที่จะลงทุนใน สัญญา Futures จะต้องวางเงินค้ำประกันก่อน จึงจะสามารถลงทุนได้ ซึ่งเงินวางค้ำประกันมีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับดังนี้
- 1
เงินวางค้ำประกันขั้นต้น หรือที่เรียกว่า Initial Margin (IM)
เป็นเงินวางค้ำประกันเริ่มแรก ซึ่งเป็นเงินเพียงประมาณ 10% ของมูลค่าสินทรัพย์อ้างอิงของสัญญา Futures จริงเท่านั้น
- 2
เงินวางค้ำประกันขั้นต่ำ หรือที่เรียกว่า Maintenance Margin (MM)
คือ หลักประกันรักษาสภาพ หรือหมายถึง วงเงินที่นักลงทุนจะต้องรักษาระดับเงินในบัญชีไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หรือ 70 % ของเงินวางค้ำประกันขั้นต้น
- 3
หลักประกันปิดฐานะ หรือที่เรียกว่า Force Close (FC)
คือ กรณีที่เงินหลักประกันลดต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หรือ 30 % ของเงินวางค้ำประกันขั้นต้น ซึ่งกรณีนี้ Broker มีสิทธิ์ปิดสถานะซื้อขาย เพื่อหยุดผลการขาดทุนของท่านได้ทันที เว้นแต่ว่าท่านจะเติมเงินเข้ามาภายในเวลา 1 ชั่วโมง
การปรับมูลค่าตามราคาตลาด (Mark-to-Market)
วันที่ |
รายการ |
ราคา ณ สิ้นวัน |
กำไร/ |
โอนเข้า/ |
ยอดเงินหลักประกัน |
---|---|---|---|---|---|
03/02/2552 | ซื้อGold Futures ที่ 15,000 บาท | 70,000 บาท | |||
ปรับปรุงกำไร/ขาดทุน | 15,080 บาท | 4,000 บาท (80 X 50) |
74,000 บาท | ||
04/02/2552 | ปรับปรุง กำไร/ขาดทุน | 14,800 บาท | -14,000 บาท (280 X 50) |
60,000 บาท | |
05/02/2552 | ปรับปรุง กำไร/ขาดทุน | 14,500 บาท | -15,000 บาท (300 X 50) |
45,000 บาท | |
06/02/2552 | วางเงินประกันเพิ่ม | 25,000 บาท | 70,000 บาท | ||
ขาย Gold Futures ที่ 15,050 บาท | 27,500 บาท (550 X 50) |
97,500 บาท |
วันที่ 3 ก.พ.
นาย A เข้าซื้อโกลด์ฟิวเจอร์สที่ 15,000 บาท จำนวน 1 สัญญา พอสิ้นวัน ราคามาอยู่ที่ 15,080 บาท ทางตลาดจะทำการ Mark-to-Market คำนวณหากำไร ขาดทุนที่นาย A ซื้อไว้กับราคาปิดตลาด 15,080 -15,000 = กำไร 80 บาทคูณด้วย50 (เพราะ1สัญญาโกลด์ฟิวเจอร์สเท่ากับทอง 50 บาท) ดังนั้นในวันนี้นาย A กำไร 4,000 บาท ทำให้ยอดเงินในบัญชีเท่ากับ 74,000 บาท
วันที่ 4 ก.พ.
ต่อมาในวันที่ 4 ก.พ.ราคาปรับลงลดมาปิดที่ 14,800 บาท คำนวณกำไรขาดทุนแล้ว เท่ากับ 14,800 – 15,080 = (280*50) ขาดทุน 14,000 บาท ทำให้ยอดเงินในบัญชี ลดลงเท่ากับ 60,000 บาท
วันที่ 5 ก.พ.
สิ้นวันที่ 5 ก.พ.ราคาลดลงปิดตลาดที่ราคา 14,500 บาท คำนวณกำไรขาดทุนแล้ว เท่ากับ 14,500 – 14,800 = (300*50) ขาดทุน 15,000 บาท ทำให้ยอดเงินในบัญชี ลดลงเท่ากับ 45,000 บาท ทำให้นาย A ต้องเติมเงินเพิ่มเข้ามาอีก 25,000 บาทใน วันรุ่งขึ้น
วันที่ 6 ก.พ.
นาย A เติมเงินเข้ามาและราคากลับดีดตัวสูงขึ้นจึงทำการขายกลับที่ราคา 15,050 บาท ดังนั้นเมื่อคำนวณกำไรขาดทุนแล้วจะเท่ากับ 15,050 – 14,500 = (550*50) กำไร 27,500 บาท สรุปยอดเงินในบัญชีนาย A จะเท่ากับ 97,500 บาท
ขั้นตอนการลงทุน
ขั้นตอนการซื้อ-ขาย
- 1
ต้องสมัครและเปิดบัญชี กับทาง MTS Gold Futures ก่อน โดยมีเอกสารที่ใช้สมัคร ดังนี้
• สำเนาบัตรประชาชน
• สำเนาทะเบียนบ้าน
• Statement หรือ Book Bank ย้อนหลัง 3 เดือน
• หน้า Book Bank ของธนาคาร (ธ.กสิกร, ธ. กรุงเทพ, ธ.กรุงไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์) - 2
ต้องมีการวาง เงินหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) กับทางโบรกเกอร์อนุพันธ์
- 3
ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ทางโทรศัพท์ หรือส่งคำสั่งด้วยตนเองผ่านทางinternet
- 4
ปรับปรุงกำไรขาดทุนทุกวัน (Mark-to-Market)
เพื่อให้ท่านได้รับทราบถึงสถานะผลกำไรหรือขาดทุนในสถานะการลงทุนของท่านเอง ซึ่งตลาดจะทำการอัพเดตข้อมูลสถานะการลงทุนของท่านทุกวัน โดยจะมีการเพิ่มของเงินในบัญชีหลักประกัน หากท่านมีสถานะในฝั่งกำไร แต่ในทางตรงกันข้ามหากท่านมีสถานะขาดทุนก็จะมีการหักเงินส่วนที่ขาดทุนจากบัญชีหลักประกันออกไป
- 5
หมั่นตรวจสอบสถานะการลงทุนของท่าน เพื่อลดความเสี่ยงและปรับพอร์ตของท่านให้เหมาะสมกับสภาพตลาด